วันพุธที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ท่านอนของเด็กทารก


  • เด็กทารกควรนอนหงายในช่วงปีแรกหลังเกิด การให้เด็กนอนหงายลดอัตราการตายเฉียบพลันไปกว่า 50% จากการวิจัยที่ US ผลการวิจัยนี้ถูกยืนยันในการวิจัยที่ New Zealand และ UK ด้วยเช่นกัน ที่ออสเตรเลียจำนวนการตายเฉียบพลันของเด็กทารกลดไปถึง 83% เมื่อมีการรณรงค์ให้เด็กทารกนอนหงาย
  • เด็กทารกก่อน 5-6 เดือนส่วนใหญ่ไม่สามารถเปลี่ยนท่านอนตัวเองได้ คือ แหมะท่าไหนก็อยู่ท่านั้นตลอด ช่วงนี้เป็นช่วงที่เด็กทารกตายเฉียบพลันสูงสุด
  • สาเหตุที่เด็กนอนคว่ำและทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน สันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก ถูกปิดทางเดินหายใจ, หายใจออกซิเจนได้ต่ำ, หายใจคาร์บอนไดออกไซด์กลับเข้าไปขณะนอนคว่ำ, หายใจเอาเชื้อโรคจากที่นอนเข้าไป
  • ถึงแม้ว่าการให้เด็กนอนตะแคงปลอดภัยกว่าให้เด็กนอนคว่ำ แต่ก็อันตรายกว่าให้เด็กนอนหงายถึง 2 เท่า นอกจากนี้การนอนตะแคงจะทำให้หัวเด็กทารกเกิดอาการแบนข้าง
  • เด็กทารกที่ฟันกำลังขึ้น หรือป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจอาจจำเป็นต้องนอนตะแคงเพื่อช่วยให้น้ำเมือกไหลออกจากปากแทนที่จะไปตุนอยู่ที่ลำคอ
  • ถ้าจะให้เด็กนอนตะแคง ให้เอามือที่อยู่ข้างล่างเยื้องไปข้างหน้า เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กทารกพลิกตัวมาอยู่ในท่านอนคว่ำ และไม่ควรเอาอะไรไปหนุนหลังเด็กเพราะจะทำให้เด็กหมุนตัวกลับมานอนคว่ำแทนที่จะนอนหงาย
  • ให้เด็กทารกนอนหงายจะทำให้หัวเด็กแบนข้างหลัง วิธีป้องกันโดยการวางหัวเด็กให้ตะแคงซ้ายขวาสลับกันเวลานอน 
  • ขณะเด็กทารกตื่น และเป็นช่วงที่เรากำลังเล่นหรือพูดกับเด็ก ควรวางเด็กนอนคว่ำเพื่อป้องกันการผิดรูปของกระโหลกศีรษะ และช่วยฝึกกล้ามเนื้อท้อง หลังและคอของเด็กทารก
Refs:


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น